emacs/etc/tutorials/TUTORIAL.th

1007 lines
119 KiB
Plaintext

คู่มือการใช้อีแมกส์. โปรดศึกษาส่วนท้ายของคู่มือสำหรับเงื่อนไขในการทำสำเนา.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2528 โดยบริษัทฟรีซอฟต์แวร์ฟาวน์เดชัน (Free Software
Foundation, Inc); กรุณาศึกษาเงื่อนไขตอนท้ายบท.
ท่านกำลังศึกษาคู่มือการใช้อีแมกส์ (Emacs tutorial) อยู่ในขณะนี้.
โดยทั่วไปคำสั่งของอีแมกส์ (Emacs) จะใช้คู่กับปุ่ม CONTROL (บางครั้งอาจเป็นปุ่มที่มี
สัญลักษณ์ CTRL หรือ CTL) หรือ ปุ่ม META (บางครั้งอาจเป็นปุ่มที่มีสัญลักษณ์ EDIT หรือ
ALT). แทนที่จะใช้คำเต็มในการอธิบาย, เราจะใช้ตัวย่อดังต่อไปนี้:
C-<chr> หมายถึงให้กดปุ่ม CONTROL และปุ่มอักษร <chr> พร้อมกัน.
ดังนั้น C-f จะหมายถึงให้กดปุ่ม CONTROL และปุ่ม f พร้อมกัน.
M-<chr> หมายถึงให้กดปุ่ม META หรือ EDIT หรือ ALT และปุ่มอักษร <chr>
พร้อมกัน. ในกรณีที่ไม่มีปุ่ม META, EDIT หรือ ALT ให้กดปุ่ม
ESC แล้วปล่อย, แล้วกดปุ่ม <chr>. เราใช้สัญลักษณ์ <ESC> แทนปุ่ม ESC.
หมายเหตุ: ในกรณีที่ต้องการเลิกใช้อีแมกส์, ให้กดปุ่ม C-x C-c. (สองตัวอักษร.)
ตัวอักษร ">>" ที่ปรากฏอยู่ทางขอบซ้ายมือเป็นการแนะนำให้ท่านลองใช้คำสั่ง. ตัวอย่างเช่น:
<<Blank lines inserted here by startup of help-with-tutorial>>
>> กดปุ่ม C-v (ดูหน้าจอถัดไป) เพื่อที่จะเคลื่อนไปยังหน้าจอถัดไป.
(ลองทำดูโดยการกดปุ่ม CONTROL และปุ่มอักษร v พร้อมกัน).
จากนี้ไป, ท่านควรจะลองใช้คำสั่งนี้ดูเมื่อท่านอ่านหน้าจอนี้จบแล้ว.
ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่าสองบรรทัดของหน้าจอที่แล้วจะยังคงปรากฏให้เห็นบนหน้าจอถัดไป; นี่
เป็นการช่วยให้ท่านสามารถอ่านหน้าจอได้อย่างต่อเนื่อง.
สิ่งแรกที่ท่านจำเป็นต้องรู้คือการเคลื่อนตำแหน่งไปมาในข้อความ. ขณะนี้ท่านทราบ
วิธีการเคลื่อนไปยังหน้าจอถัดไปแล้วด้วยปุ่ม C-v. ในการที่จะเคลื่อนกลับไปหนึ่งหน้าจอ, กดปุ่ม
M-v (กดปุ่ม META และปุ่ม v, หรือกดปุ่ม <ESC>v ถ้าท่านไม่มีปุ่ม META, EDIT, หรือ ALT).
>> ลองกดปุ่ม M-v และกดปุ่ม C-v ดูการทำงานสักสองสามครั้ง.
* สรุป
-----
คำสั่งต่อไปนี้ใช้เมื่อต้องการดูหน้าจอต่างๆ:
C-v เคลื่อนไปยังหน้าจอถัดไปหนึ่งหน้าจอ
M-v เคลื่อนกลับไปหนึ่งหน้าจอ
C-l ลบหน้าจอ แล้วแสดงผลหน้าจอใหม่, พร้อมทั้งย้ายตำแหน่งของข้อความที่มี
เคอร์เซอร์ (cursor) ปรากฏอยู่ไปแสดงไว้กลางจอ.
(คำสั่งนี้คือ CONTROL-L, ไม่ใช่ CONTROL-1.)
>> สังเกตตำแหน่งของเคอร์เซอร์, และสังเกตดูว่ามีข้อความอะไรอยู่ใกล้เคอร์เซอร์.
แล้วกดปุ่ม C-l.
สังเกตดูตำแหน่งของเคอร์เซอร์อีกครั้ง จะเห็นว่ามีข้อความเดิมปรากฏอยู่ใกล้ๆ กับเคอร์เซอร์.
* การควบคุมเคอร์เซอร์เบื้องต้น
------------------------
การเคลื่อนหน้าจอไปมานั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่ท่านจะทำอย่างไรถ้าท่านต้องการจะเคลื่อนไปยัง
ตำแหน่งที่ต้องการภายในข้อความที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ?
มีหลายวิธีที่สามารถจะทำได้. วิธีที่พื้นที่สุดคือการใช้คำสั่ง C-p, C-b, C-f, และ C-n.
แต่ละคำสั่งจะเคลื่อนเคอร์เซอร์ไปหนึ่งบรรทัดหรือหนึ่งคอลัมน์ในทิศทางใดทิศทางหนึ่งบนหน้าจอ.
ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงคำสั่งทั้งสี่ และทิศทางที่เคอร์เซอร์เคลื่อนไป:
บรรทัดก่อนหน้า, C-p
:
:
ย้อนกลับ, C-b .... ตำแหน่งเคอร์เซอร์ปัจจุบัน .... ข้างหน้า, C-f
:
:
บรรทัดถัดไป, C-n
>> เคลื่อนเคอร์เซอร์ไปที่กึ่งกลางของผังข้างบนโดยใช้คำสั่ง C-n หรือ C-p. แล้วกดปุ่ม
C-l เพื่อให้ผังปรากฏอยู่กลางหน้าจอ.
ท่านอาจจะจำคำสั่งได้ง่ายขึ้นโดยสังเกตตัวอักษรที่ใช้: p สำหรับ previous (ก่อนหน้า), n
สำหรับ next (ถัดไป), b สำหรับ backward (ย้อนกลับ), และ f สำหรับ forward
(ข้างหน้า). เหล่านี้คือเบื้องต้นของคำสั่งในการควบคุมตำแหน่งของเคอร์เซอร์, และท่าน
จะต้องใช้คำสั่งเหล่านี้บ่อยครั้ง, ฉะนั้นจึงเป็นการดีที่จะจำคำสั่งเหล่านี้ไว้.
>> ลองใช้คำสั่ง C-n ดูเพื่อที่จะเคลื่อนเคอร์เซอร์ลงมายังบรรทัดนี้.
>> ลองเคลื่อนเข้าไปในบรรทัดโดยใช้คำสั่ง C-f และเคลื่อนขึ้นข้างบนโดยใช้คำสั่ง C-p.
สังเกตดูว่าเกิดอะไรขึ้นถ้าใช้คำสั่ง C-p เมื่อตำแหน่งเคอร์เซอร์ปรากฏอยู่ที่ตรงกลาง
ของบรรทัด.
แต่ละบรรทัดสิ้นสุดด้วยอักขระ Newline, ซึ่งใช้แสดงขอบเขตระหว่างบรรทัด. ที่ท้ายสุดของ
ไฟล์ก็จะมีอักขระ Newline เช่นกัน (แต่สำหรับอีแมกส์แล้วไม่จำเป็น).
>> ลองใช้คำสั่ง C-b ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดดู. เคอร์เซอร์จะเคลื่อนไปยังตำแหน่ง
ท้ายสุดของบรรทัดก่อนหน้า. นี่เป็นเพราะว่าเคอร์เซอร์ได้เคลื่อนข้ามอักขระ Newline ไป.
คำสั่ง C-f สามารถเคลื่อนข้ามอักขระ Newline ได้เช่นเดียวกับคำสั่ง C-b.
>> ลองใช้คำสั่ง C-b ดูอีกสักหน่อย, ท่านจะสามารถเข้าใจการเคลื่อนเคอร์เซอร์ได้ดีขึ้น.
แล้วลองใช้คำสั่ง C-f เพื่อที่จะเคลื่อนไปยังตำแหน่งท้ายสุดของบรรทัด.
แล้วลองใช้คำสั่ง C-f อีกสักครั้งเพื่อที่จะเคลื่อนไปยังบรรทัดถัดไป.
เมื่อท่านเคลื่อนผ่านตำแหน่งบนสุดหรือท้ายสุดของหน้าจอ, ข้อความถัดจากบรรทัดที่อยู่ที่
ขอบนั้นจะขยับเข้ามาปรากฏอยู่บนหน้าจอ. นี่เรียกว่า "การเคลื่อนม้วน (scrolling)". นี่
เป็นการทำให้อีแมกส์สามารถเคลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนข้อความได้โดย
ไม่เคลื่อนออกนอกหน้าจอ.
>> ลองเคลื่อนเคอร์เซอร์ลงออกไปนอกหน้าจอโดยใช้คำสั่ง C-n, แล้วดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น.
ถ้าเคลื่อนทีละตัวอักษรนั้นช้าไป, ท่านก็สามารถจะเคลื่อนได้ทีละคำ. คำสั่ง M-f (META-f)
ใช้ในการเคลื่อนไปยังคำที่อยู่ถัดไป และ M-b ใช้ในการเคลื่อนไปยังคำที่อยู่ก่อนหน้า.
>> ลองใช้คำสั่ง M-f และ M-b ดูสักสองสามครั้ง.
เมื่อท่านอยู่ที่ตำแหน่งกลางของคำ, คำสั่ง M-f จะใช้เคลื่อนไปยังตำแหน่งท้ายของคำนั้น. เมื่อ
ท่านอยู่ที่ตำแหน่งเว้นวรรคระหว่างคำ, คำสั่ง M-f จะใช้เคลื่อนไปยังตำแหน่งท้ายของคำ
ที่อยู่ถัดไป. คำสั่ง M-b ทำหน้าที่ทำนองเดียวกัน แต่เคลื่อนไปในทิศทางตรงกันข้าม.
หมายเหตุ: เนื่องจากภาษาไทยไม่มีการใช้อักขระเว้นวรรค (whitespace) ในการแสดง
ขอบเขตของคำ, ฉะนั้นเมื่ออยู่ในโหมดภาษาไทย (ThaiText mode) อีแมกส์
จะทำการกำกับขอบเขตของคำโดยอาศัยโปรแกรมตัดคำ. คำสั่ง M-f และ M-b
จึงจะทำงานได้, แต่จะให้ผลต่างไปเล็กน้อย. กล่าวคือ:
ไม่ว่าท่านอยู่ที่ตำแหน่งกลางหรือตำแหน่งเริ่มต้นของคำก็ตาม, คำสั่ง M-f จะใช้
เคลื่อนไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของคำถัดไปในกรณีที่คำนั้นไม่ได้เป็นคำสุดท้ายของ
บรรทัด. ถ้าคำนั้นเป็นคำสุดท้ายของบรรทัด, คำสั่ง M-f จะใช้เคลื่อนไปยัง
ตำแหน่งท้ายของคำนั้น.
>> ลองใช้คำสั่ง M-f และ M-b ดู, โดยปะปนกับคำสั่ง C-f และ C-b, ท่านจะสังเกต
เห็นการทำงานของคำสั่ง M-f และ M-b ในตำแหน่งต่างๆ ทั้งในคำและระหว่างคำ.
ท่านสามารถสังเกตได้ว่าคำสั่ง C-f และ C-b นั้นทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกับคำสั่ง M-f
และ M-b, แต่อยู่บนเกณฑ์ที่ต่างกัน. ส่วนมาก ปุ่ม META จะถูกกำหนดให้ใช้กับการทำงานใน
ระดับที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่กำหนดขึ้นทางภาษา (เช่น คำ, ประโยค, ย่อหน้า, เป็นต้น),
ขณะที่ปุ่ม CONTROL นั้นมักจะถูกกำหนดให้ใช้กับการทำงานในระดับที่เกี่ยวข้องกับหน่วยย่อย
อิสระที่ทำการแก้ไขได้ (เช่น ตัวอักษร, บรรทัด, เป็นต้น).
การทำงานในทำนองเดียวกันสำหรับบรรทัดกับประโยค: คำสั่ง C-a และ C-e ใช้เคลื่อน
ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นและท้ายของบรรทัด, ขณะเดียวกันคำสั่ง M-a และ M-e ใช้เคลื่อน
ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นและท้ายของประโยค.
หมายเหตุ: เนื่องจากภาษาไทยไม่นิยมใช้อักขระมหัพภาค (period) ในการแสดงจุดสิ้นสุดของ
ประโยค, ทำให้ไม่สามารถกำหนดขอบเขตของประโยคให้ถูกต้องได้. ดังนั้นเมื่อ
อยู่ในโหมดภาษาไทย (ThaiText mode), คำสั่ง M-a และ M-e จะเคลื่อน
เคอร์เซอร์ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของย่อหน้า และตำแหน่งท้ายสุดของย่อหน้า
ตามลำดับ. ยกเว้นกรณีที่มีการใช้อักขระมหัพภาค.
>> ลองใช้คำสั่ง C-a และ C-e ดูสักสองสามครั้ง.
ลองใช้คำสั่ง M-a และ M-e ดูสักสองสามครั้ง.
สังเกตดูว่าการใช้คำสั่ง C-a ซ้ำๆ กันจะไม่เกิดผลอะไร, แต่การใช้คำสั่ง M-a จะทำให้
เคอร์เซอร์เคลื่อนไปทีละประโยค. แม้ว่าการเคลื่อนเคอร์เซอร์ของทั้งสองแบบนี้จะไม่
คล้ายกันเลยทีเดียว, แต่ก็ดูเป็นธรรมชาติดี.
บางครั้งเราก็เรียกตำแหน่งของเคอร์เซอร์ว่า "จุด (point)". กล่าวคือ, เคอร์เซอร์ที่
ปรากฏอยู่บนหน้าจอก็คือตำแหน่งที่จุดปรากฏอยู่บนข้อความนั่นเอง.
ต่อไปนี้เป็นสรุปของชุดคำสั่งสำหรับการเคลื่อนเคอร์เซอร์, ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนในระดับคำ
และประโยค:
C-f เคลื่อนไปข้างหน้าหนึ่งตัวอักษร
C-b เคลื่อนกลับไปหนึ่งตัวอักษร
M-f เคลื่อนไปข้างหน้าหนึ่งคำ
M-b เคลื่อนกลับไปหนึ่งคำ
C-n เคลื่อนไปบรรทัดถัดไป
C-p เคลื่อนไปบรรทัดก่อนหน้า
C-a เคลื่อนไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัด
C-e เคลื่อนไปยังตำแหน่งท้ายของบรรทัด
M-a เคลื่อนไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของประโยค
M-e เคลื่อนไปยังตำแหน่งท้ายของประโยค
>> ลองใช้คำสั่งเหล่านี้สักระยะเพื่อเป็นการฝึกหัด.
คำสั่งเหล่านี้เป็นคำสั่งที่ใช้กันบ่อยมาก.
มีอีกสองคำสั่งที่สำคัญในการเคลื่อนตำแหน่งคือ คำสั่ง M-< (META น้อยกว่า), ใช้ในการ
เคลื่อนไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของข้อความ, และ M-> (META มากกว่า), ใช้ในการเคลื่อน
ไปยังตำแหน่งท้ายสุดของข้อความ.
ในเครื่องปลายทาง (terminal) ส่วนใหญ่, อักขระ "<" จะอยู่เหนืออักขระจุลภาค
(comma), ฉะนั้นท่านต้องใช้ปุ่มชิฟต์ (shift) ในการป้อนอักขระนั้น. สำหรับเครื่อง
ปลายทางแบบนี้, ท่านจึงต้องใช้ปุ่มชิฟต์ในการป้อนคำสั่ง M-< ในทำนองเดียวกัน, ถ้าไม่
คำนึงถึงปุ่มชิฟต์, ก็หมายความว่าท่านกำลังป้อนคำสั่ง M-comma.
>> ลองใช้คำสั่ง M-< ดู, เพื่อเคลื่อนไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของคู่มือการใช้นี้.
แล้วใช้คำสั่ง C-v ซ้ำกันหลายๆ ครั้งเพื่อที่จะเคลื่อนกลับมายังตำแหน่งเดิมนี้.
>> ลองใช้คำสั่ง M-> ดู, เพื่อเคลื่อนไปยังตำแหน่งท้ายสุดของคู่มือการใช้นี้.
แล้วใช้คำสั่ง M-v ซ้ำกันหลายๆ ครั้งเพื่อที่จะเคลื่อนกลับมายังตำแหน่งเดิมนี้.
ท่านสามารถเคลื่อนเคอร์เซอร์ได้ด้วยปุ่มลูกศร (arrow key), ถ้าเครื่องปลายทางของท่าน
มีปุ่มเหล่านี้อยู่. เราแนะนำให้ฝึกหัดใช้คำสั่ง C-b, C-f, C-n และ C-p, ด้วยเหตุผลสาม
ประการ. หนึ่ง, คำสั่งเหล่านี้ทำงานได้บนเครื่องปลายทางทุกชนิด. สอง, เมื่อท่านได้ฝึกหัด
การใช้กับอีแมกส์แล้ว ท่านจะรู้สึกว่าการใช้คำสั่งด้วยปุ่ม CONTROL นั้นคล่องตัวกว่าการใช้
ปุ่มลูกศร (เพราะว่าท่านไม่ต้องเคลื่อนย้ายมือออกจากตำแหน่งมือสัมผัสเลย). สาม, เมื่อ
ท่านคุ้นเคยกับการใช้คำสั่งประกอบกับปุ่ม CONTROL แล้ว, ท่านสามารถจะฝึกการใช้คำสั่ง
ชั้นสูงต่อไปได้อีกด้วย.
คำสั่งส่วนใหญ่ในอีแมกส์นั้นจะสามารถกำกับตัวเลขอาร์กิวเมนต์ได้; สำหรับคำสั่งส่วนใหญ่,
ตัวเลขเหล่านี้ก็จะหมายถึงจำนวนครั้งของการประมวลผลของคำสั่งต่อไป. การที่จะทำให้มี
การประมวลผลของคำสั่งซ้ำเท่าจำนวนที่ต้องการนั้นสามารถทำได้โดยการป้อนคำสั่ง C-u
แล้วตามด้วยตัวเลขก่อนที่จะป้อนคำสั่งที่ต้องการ. ถ้าท่านมีปุ่ม META (หรือ EDIT หรือ
ALT), ท่านสามารถจะทำได้ด้วยอีกวิธีหนึ่ง: ป้อนตัวเลขขณะที่กดปุ่ม META อยู่. เราแนะนำ
ให้ท่านฝึกหัดใช้คำสั่ง C-u เพราะว่าสามารถใช้ได้กับเครื่องปลายทางทุกชนิด. ตัวเลขอาร์
กิวเมนต์ที่กล่าวถึงนี้เรียกว่า "อาร์กิวเมนต์เติมหน้า (prefix argument)", เพราะว่าท่าน
ต้องป้อนตัวเลขก่อนที่จะป้อนคำสั่ง.
ตัวอย่างเช่น, คำสั่ง C-u 8 C-f จะเคลื่อนไปข้างหน้าแปดตัวอักษร.
>> ลองใช้คำสั่ง C-n หรือ C-p ประกอบกับตัวเลขอาร์กิวเมนต์, เพื่อที่จะเคลื่อนเคอร์เซอร์
เข้ามาใกล้บรรทัดนี้โดยใช้เพียงคำสั่งเดียว.
คำสั่งส่วนใหญ่ใช้ตัวเลขอาร์กิวเมนต์เหล่านี้สำหรับการประมวลผลคำสั่งซ้ำ, แต่บางคำสั่งก็ใช้
ในลักษณะอื่น. มีหลายคำสั่ง (แต่ไม่รวมคำสั่งที่ได้กล่าวมาถึงตรงนี้) ใช้ตัวเลขนี้เป็นตัว
บ่งชี้--การที่มีอาร์กิวเมนต์เติมหน้า, โดยไม่คำนึงถึงค่าของตัวเลข, จะทำให้คำสั่งนั้นทำงาน
ต่างออกไป.
คำสั่ง C-v และ M-v เป็นคำสั่งที่ยกเว้นอีกประเภทหนึ่ง. ถ้าป้อนตัวเลขอาร์กิวเมนต์ด้วยแล้ว,
หน้าจอจะถูกเคลื่อนม้วนขึ้นหรือลงเป็นจำนวนบรรทัดเท่าตัวเลขที่กำหนด, แทนที่จะเคลื่อนม้วน
ทีละหน้าจอ. ตัวอย่างเช่น, คำสั่ง C-u 8 C-v จะเคลื่อนม้วนหน้าจอทีละแปดบรรทัด.
>> ลองใช้คำสั่ง C-u 8 C-v ดู.
คำสั่งนี้จะเคลื่อนม้วนหน้าจอขึ้นไปแปดบรรทัด. ถ้าท่านต้องการจะเคลื่อนม้วนกลับมาอีก, ท่าน
ก็ทำได้โดยการกำกับตัวเลขอาร์กิวเมนต์ให้กับคำสั่ง M-v.
ถ้าท่านกำลังใช้เอกซ์วินโดว์ (X Window) อยู่, จะมีแผงเคลื่อนม้วน (scroll bar) ที่
เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ทางด้านซ้ายของวินโดว์ (window) ของอีแมกส์. ท่านสามารถ
จะเคลื่อนม้วนข้อความโดยการคลิกเมาส์ (click mouse) บนแผงเคลื่อนม้วน.
>> ลองกดปุ่มกลางที่ส่วนบนสุดของพื้นที่ที่เน้น (highlight) ภายในแผงเคลื่อนม้วน.
ข้อความจะถูกเคลื่อนม้วนไปยังตำแหน่งที่ที่ท่านได้คลิก.
>> ลองเคลื่อนเมาส์ขึ้นลงดู, ขณะที่ยังกดปุ่มกลางอยู่. ท่านจะพบว่าข้อความจะเคลื่อนที่ขึ้น
ลงตามที่ท่านเคลื่อนเมาส์ไป.
* กรณีที่อีแมกส์หยุดชะงัก (hang up)
----------------------------
ถ้าอีแมกส์หยุดและไม่ตอบสนองคำสั่งใดๆ, ท่านสามารถยกเลิกคำสั่งได้อย่างปลอดภัยโดยใช้
คำสั่ง C-g. ท่านสามารถใช้คำสั่ง C-g ในการยกเลิกคำสั่งที่กำลังทำงานอยู่ได้.
ท่านสามารถใช้คำสั่ง C-g เพื่อยกเลิกตัวเลขอาร์กิวเมนต์หรือคำสั่งที่ท่านกำลังป้อนอยู่ได้.
>> ลองป้อนคำสั่ง C-u 100 เพื่อที่จะให้มีตัวเลขอาร์กิวเมนต์เป็น 100, แล้วป้อนคำสั่ง C-g.
ป้อนคำสั่ง C-f. ผลที่ได้ก็คือเคอร์เซอร์เคลื่อนไปเพียงหนึ่งตัวอักษร, เพราะว่าท่านได้
ยกเลิกตัวเลขอาร์กิวเมนต์ไปแล้วด้วยคำสั่ง C-g.
ถ้าท่านป้อนคำสั่ง <ESC> โดยไม่ได้ตั้งใจ, ท่านก็สามารถจะยกเลิกคำสั่งนั้นได้ด้วยคำสั่ง C-g.
* คำสั่งที่ถูกปิดทาง (disable)
------------------------
คำสั่งบางคำสั่งถูกปิดทางไว้ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ที่เริ่มต้นใช้ (beginning user) ใช้ได้
โดยไม่ได้ตั้งใจ.
ถ้าท่านป้อนคำสั่งประเภทนี้แล้ว, อีแมกส์จะแสดงข้อความว่าคำสั่งนั้นคืออะไร, และจะถาม
ท่านว่าต้องการจะประมวลผลคำสั่งนั้นหรือไม่.
ถ้าท่านต้องการที่จะประมวลผลคำสั่งนั้นจริงๆ, กดปุ่ม space เพื่อตอบยืนยันความต้องการ.
โดยปรกติแล้ว, ถ้าท่านไม่ต้องการจะประมวลผลคำสั่งที่ถูกปิดทางไว้, ก็ตอบ "n" เท่านั้น.
>> ลองใช้คำสั่ง C-x C-l (ซึ่งเป็นคำสั่งที่ถูกปิดทางไว้), แล้วป้อน "n" เพื่อเป็นการตอบ
คำถาม.
* วินโดว์ (window)
----------------
อีแมกส์สามารถมีได้หลายวินโดว์, แต่ละวินโดว์ก็จะแสดงผลของข้อความของตนเอง. เราจะ
อธิบายถึงวิธีการใช้แบบหลายวินโดว์หลังจากนี้. ตอนนี้จะกล่าวถึงวิธีการปิดวินโดว์ที่ไม่ต้อง
การ, แล้วกลับไปใช้เพียงวินโดว์เดียว. ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้:
C-x 1 หนึ่งวินโดว์ (คือการปิดวินโดว์อื่นๆ ทั้งหมด)
นั่นคือเพียงป้อนคำสั่ง C-x แล้วตามด้วยเลข 1. คำสั่ง C-x 1 จะขยายวินโดว์ที่มี
เคอร์เซอร์อยู่ ให้เต็มหน้าจอ. ซึ่งจะเป็นการปิดวินโดว์อื่นๆ ทั้งหมด.
>> เคลื่อนเคอร์เซอร์มายังบรรทัดนี้ แล้วป้อนคำสั่ง C-u 0 C-l.
>> ป้อนคำสั่ง C-h k C-f.
จะเห็นว่าวินโดว์นี้มีขนาดย่อลง ขณะที่มีวินโดว์ใหม่เกิดขึ้นแสดงผลของเอกสารที่เกี่ยวกับ
คำสั่งของ C-f.
>> ป้อนคำสั่ง C-x 1 แล้วจะพบว่าวินโดว์ที่แสดงรายการของเอกสารหายไป.
คำสั่งนี้ต่างจากคำสั่งที่ได้กล่าวมาตรงที่ว่าคำสั่งนี้ประกอบด้วยสองตัวอักษร. คำสั่งนี้เริ่มต้น
ด้วยอักขระ C-x. มีชุดของคำสั่งที่ขึ้นต้นด้วยอักขระ C-x; ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการ
จัดการกับวินโดว์, แฟ้มข้อมูล, บัฟเฟอร์, และอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน. คำสั่งเหล่านี้จะ
ประกอบด้วยสอง, สาม, หรือสี่ตัวอักษร.
* การแทรก (inserting) และการลบ (deleting)
----------------------------------------------
ถ้าท่านต้องการที่จะแทรกข้อความ, ก็สามารถทำได้โดยการป้อนข้อความนั้นเข้าไปเท่านั้น.
ตัวอักษรที่ท่านเห็น, เช่น A, 7, *, เป็นต้น, ต่างก็ถือว่าเป็นข้อความและถูกแทรกเข้าไป
ทันทีที่ป้อน. กดปุ่ม <Return> ในการที่จะแทรกอักขระ Newline.
ท่านสามารถลบตัวอักษรตัวสุดท้ายที่ท่านได้ป้อนเข้าไปได้โดยการกดปุ่ม <Delete>. ปุ่ม
<Delete> เป็นปุ่มๆ หนึ่งบนแป้นพิมพ์, ซึ่งบางครั้งอาจเป็นปุ่มที่กำกับด้วย "Del". ในบาง
กรณี, ปุ่ม "Backspace" ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกับปุ่ม <Delete>, แต่ก็ไม่เสมอไป.
โดยทั่วไปแล้ว, ปุ่ม <Delete> จะใช้สำหรับลบตัวอักษรที่อยู่หน้าตำแหน่งของเคอร์เซอร์ปัจจุบัน.
>> ลองทำดู--ป้อนตัวอักษรใดๆ สักสองสามตัว, แล้วลบตัวอักษรนั้นออกโดยกดปุ่ม
<Delete> สักสองสามครั้ง. ไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้ข้อความในแฟ้มข้อมูลนี้เปลี่ยนไป;
ท่านจะไม่ทำให้ข้อความในต้นฉบับของคู่มือการใช้เปลี่ยนแปลง. นี่เป็นเพียงฉบับสำเนาเท่านั้น.
เมื่อข้อความในบรรทัดยาวเกินกว่าหนึ่งบรรทัดของหน้าจอ, ข้อความในบรรทัดนั้นจะต่อเนื่อง
ไปยังบรรทัดถัดไปของหน้าจอ. อักขระ backslash (“\”) ที่ปลายของขอบขวามือจะบ่งชี้
ว่าข้อความของบรรทัดนั้นต่อเนื่องไปยังบรรทัดถัดไป.
>> ป้อนข้อความจนกระทั่งถึงขอบขวา, แล้วป้อนต่อไปอีก. ท่านจะเห็นการแสดงผลของ
บรรทัดต่อเนื่องกัน.
>> ใช้ปุ่ม <Delete> เพื่อลบข้อความออกจนกระทั่งข้อความนั้นพอดีกับความกว้างของหน้าจอ.
บรรทัดที่ต่อเนื่องกันก็จะหายไป.
ท่านสามารถลบอักขระ Newline ออกได้เช่นเดียวกับตัวอักษรอื่นๆ. การลบอักขระ Newline
ระหว่างสองบรรทัดจะเป็นการรวมสองบรรทัดนั้นเข้าเป็นบรรทัดเดียว. ถ้าผลของการรวมสอง
บรรทัดเข้าด้วยกันทำให้บรรทัดนั้นยาวเกินกว่าบรรทัดของหน้าจอแล้ว, บรรทัดนั้นก็จะเป็นบรรทัด
แบบต่อเนื่อง.
>> เคลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัด, แล้วกดปุ่ม <Delete>.
บรรทัดปัจจุบันจะถูกเชื่อมเข้ากับบรรทัดก่อนหน้า.
>> กดปุ่ม <Return> เพื่อที่จะแทรกอักขระ Newline เข้าไปใหม่.
ควรจำไว้ว่าคำสั่งส่วนใหญ่ของอีแมกส์จะสามารถทำให้ประมวลผลซ้ำได้หลายครั้ง; ซึ่งรวมถึง
จำนวนตัวอักษรด้วย. การประมวลผลซ้ำของการป้อนตัวอักษรคือการแทรกตัวอักษรเหล่านั้นเข้าไป.
>> ลองทำดูเดี๋ยวนี้--ป้อนคำสั่ง C-u 8 * เพื่อที่จะป้อนสายอักขระ ********.
ท่านได้เรียนรู้ถึงวิธีการเบื้องต้นในการป้อนบางสิ่งบางอย่างในอีแมกส์และการแก้ไข
ข้อผิดพลาดต่างๆ. ท่านสามารถที่จะลบทีละคำหรือทีละบรรทัดในทำนองเดียวกัน. ต่อไปนี้เป็น
การสรุปการลบด้วยวิธีต่างๆ:
<Delete> ลบตัวอักษรที่อยู่หน้าตำแหน่งเคอร์เซอร์
C-d ลบตัวอักษรที่อยู่ถัดไปหลังตำแหน่งเคอร์เซอร์
M-<Delete> ฆ่าคำที่อยู่หน้าตำแหน่งเคอร์เซอร์
M-d ฆ่าคำที่อยู่ถัดไปหลังตำแหน่งเคอร์เซอร์
C-k ฆ่าตัวอักษรตั้งแต่ตำแหน่งเคอร์เซอร์ไปจนถึงท้ายบรรทัด
M-k ฆ่าตัวอักษรตั้งแต่ตำแหน่งเคอร์เซอร์ไปจนถึงท้ายของประโยค
ควรจะสังเกตได้ว่าคำสั่ง <Delete> และ C-d, กับ M-<Delete> และ M-d เป็นคำสั่ง
ในทำนองเดียวกันที่เริ่มจากคำสั่ง C-f และ M-f (แม้ว่าปุ่ม <Delete> จะไม่ใช่ตัวอักษร
ก็ตาม, แต่ไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญ). คำสั่ง C-k และ M-k ก็เช่นเดียวกับ C-e และ M-e ที่
ทำงานในลักษณะเดียวกันแต่คนละระดับ, คือระดับที่เป็นบรรทัดกับประโยค.
เมื่อท่านลบตัวอักษรไปมากกว่าหนึ่งตัวในครั้งหนึ่งๆ, อีแมกส์จะบันทึกข้อความที่ถูกลบไปไว้
เพื่อว่าท่านจะสามารถเรียกกลับมาได้อีก. การเรียกกลับมาของข้อความที่ถูกฆ่าไปนั้นเรียกว่า
"การเรียกคืน (yanking)". ท่านสามารถเรียกคืนข้อความที่ถูกฆ่าไปกลับมาได้โดยให้
ปรากฏในที่ที่ถูกฆ่าไป, หรือปรากฏในที่ใดๆ ของข้อความก็ได้. ท่านสามารถเรียกคืนข้อความ
กี่ครั้งก็ได้เพื่อที่จะทำสำเนาข้อความ. คำสั่งที่ใช้ในการเรียกคืนคือ C-y.
สิ่งที่ควรสังเกตอันหนึ่งคือข้อแตกต่างระหว่าง "การฆ่า (killing)" กับ "การลบ
(deleting)". สิ่งที่ถูก "ฆ่า (killed)" ไปนั้น, สามารถที่จะเรียกคืน (yank) มาได้,
แต่สิ่งที่ถูก "ลบ (deleted)" ไปนั้น, ไม่สามารถจะเรียกคืนมาได้. โดยทั่วไป, คำสั่งที่สามารถ
ลบข้อความได้ทีละมากๆ จะเก็บข้อความนั้นไว้, ขณะที่คำสั่งที่ลบได้ทีละตัวอักษร, หรือบรรทัด
เปล่าและเว้นวรรค, จะไม่เก็บข้อความที่ถูกลบไป.
>> เคลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของบรรทัดที่ไม่ใช่บรรทัดเปล่า.
แล้วป้อนคำสั่ง C-k เพื่อที่จะฆ่าข้อความที่อยู่บนบรรทัดนั้น.
>> ป้อนคำสั่ง C-k อีกครั้งหนึ่ง. ท่านจะเห็นว่าอักขระ Newline ที่อยู่ท้ายบรรทัดนั้นจะถูก
ฆ่าไป.
จะสังเกตได้ว่าคำสั่ง C-k คำสั่งแรกจะฆ่าเนื้อความของบรรทัด, และคำสั่ง C-k คำสั่ง
ที่สองจะฆ่าบรรทัดนั้น, และจะขยับบรรทัดอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมดขึ้น. คำสั่ง C-k จัดการกับ
ตัวเลขอาร์กิวเมนต์ในลักษณะที่แตกต่างออกไป: คำสั่งนี้จะฆ่าหลายๆ บรรทัดและเนื้อหาของ
ข้อความด้วย. นี่ไม่เหมือนการทำซ้ำแบบปรกติ. คำสั่ง C-u 2 C-k จะฆ่าทั้งสองบรรทัด
พร้อมทั้งอักขระ Newline ของบรรทัดนั้นๆ ด้วย; ซึ่งต่างจากการทำคำสั่ง C-k สองครั้ง.
ใช้คำสั่ง C-y ในการที่จะเรียกคืนข้อความที่ถูกฆ่าไปหลังสุด. ข้อความที่ถูกเรียกคืนนั้นจะ
ปรากฏที่ตำแหน่งเคอร์เซอร์ปัจจุบัน.
>> ลองใช้คำสั่ง C-y เพื่อที่จะเรียกคืนข้อความกลับมา.
คำสั่ง C-y ก็เหมือนการเรียกคืนสิ่งของที่ใครบางคนได้เอาไปจากท่าน. ท่านจะสังเกตได้ว่า
ถ้าท่านใช้คำสั่ง C-k ติดต่อกันหลายๆ ครั้ง, ข้อความที่ถูกฆ่าไปทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ด้วยกัน,
ฉะนั้นการใช้คำสั่ง C-y เพียงครั้งเดียวก็จะเรียกคืนข้อความกลับมาได้ทั้งหมด.
>> ลองใช้คำสั่ง C-k หลายๆ ครั้งดู.
เพื่อที่จะเรียกคืนข้อความที่ถูกฆ่าไป:
>> ลองใช้คำสั่ง C-y. แล้วเคลื่อนเคอร์เซอร์ลงไปสักสองสามบรรทัด, แล้วใช้คำสั่ง C-y
อีกครั้ง. ท่านจะเข้าใจวิธีการที่จะสำเนาข้อความ.
ท่านจะทำอย่างไรถ้าท่านต้องการจะเรียกคืนข้อความบางอย่าง, แล้วฆ่าบางอย่างออกไป?
คำสั่ง C-y จะเรียกคืนข้อความที่ถูกฆ่าล่าสุด. แต่ข้อความก่อนหน้านั้นยังคงเหลืออยู่. ท่าน
สามารถจะเรียกคืนมาได้อีกโดยใช้คำสั่ง M-y. หลังจากที่ท่านได้เรียกคืนข้อความล่าสุดแล้ว,
ใช้คำสั่ง M-y เพื่อที่จะเรียกคืนข้อความก่อนหน้านั้นมาแทนที่. การใช้คำสั่ง M-y แต่ละครั้ง
จะเรียกคืนข้อความที่ถูกฆ่าไปในลำดับที่ย้อนกลับขึ้นไป. เมื่อท่านได้ข้อความที่ต้องการกลับคืนมา,
ท่านก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำอะไรกับข้อความนั้นอีก. เพียงปล่อยอยู่อย่างนั้น, แล้วทำการแก้ไข
ข้อความอื่นต่อไป.
ถ้าท่านใช้คำสั่ง M-y ด้วยจำนวนครั้งที่มากพอ, ท่านจะย้อนกลับมายังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง
(ข้อความที่ถูกฆ่าไปล่าสุด).
>> ฆ่าหนึ่งบรรทัด, เคลื่อนเคอร์เซอร์ไป, ฆ่าอีกบรรทัด.
แล้วใช้คำสั่ง C-y เพื่อที่จะเรียกคืนบรรทัดที่ถูกฆ่าไปในครั้งที่สอง.
แล้วใช้คำสั่ง M-y ซึ่งจะเรึยกคืนบรรทัดที่ถูกฆ่าไปในครั้งแรกมาแทนที่.
ใช้คำสั่ง M-y อีก, แล้วดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น. ลองทำไปเรื่อยๆ จนกว่าบรรทัดที่ถูกฆ่าไป
ในครั้งที่สองจะกลับคืนมา, แล้วทำไปอีกสักระยะ.
ถ้าท่านต้องการ, ท่านอาจจะลองกำกับตัวเลขอาร์กิวเมนต์ทั้งที่เป็นจำนวนบวกและลบให้กับ
คำสั่ง M-y ดู.
* การทำย้อน (undo)
-------------------
ถ้าท่านได้แก้ไขข้อความไป, และคิดว่าได้ทำผิดพลาดไป, ท่านสามารถทำย้อนสิ่งที่ได้
เปลี่ยนแปลงไปแล้วด้วยคำสั่งการทำย้อน, C-x u.
โดยปรกติ, คำสั่ง C-x u ทำย้อนคำสั่งที่ได้ทำไปแล้วหนึ่งคำสั่ง; ถ้าท่านทำย้อนซ้ำติดต่อกัน,
การทำย้อนแต่ละครั้งจะย้อนคำสั่งไปทีละคำสั่ง.
แต่มีข้อยกเว้นอยู่สองประการ: คำสั่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงข้อความจะไม่นับรวมอยู่ด้วย (นี่รวมถึง
คำสั่งการเคลื่อนเคอร์เซอร์และการเคลื่อนม้วน), และการแทรกตัวอักษรก็จะถูกจัดการโดยรวม
เป็นกลุ่มที่ไม่เกิน 20 ตัวอักษรต่อกลุ่ม. (ทั้งนี้เพื่อลดจำนวนครั้งของคำสั่ง C-x u ในการทำ
ย้อนการแทรกตัวอักษร.)
>> ฆ่าบรรทัดนี้ด้วยคำสั่ง C-k, แล้วป้อนคำสั่ง C-x u. บรรทัดที่ถูกฆ่าไปจะปรากฏกลับคืนมา.
คำสั่ง C-_ เป็นอีกคำสั่งหนึ่งสำหรับการทำย้อน; คำสั่งนี้ทำงานเหมือนกับคำสั่ง C-x u,
แต่ว่าสะดวกกว่าในการป้อนหลายๆ ครั้งติดต่อกัน. ข้อเสียของคำสั่ง C-_ นี้คือในบาง
แป้นพิมพ์, อาจจะไม่ทราบว่าจะป้อนคำสั่งได้อย่างไร. นั่นคือเหตุที่ทำให้เราต้องเตรียมคำสั่ง
C-x u ให้อีกต่างหาก. ในเครื่องปลายทางบางชนิด,ท่านอาจจะป้อนคำสั่ง C-_ ได้โดยการกด
อักขระ / ในขณะที่กดปุ่ม CONTROL.
ตัวเลขอาร์กิวเมนต์สำหรับคำสั่ง C-_ และ C-x u จะเป็นการซ้ำจำนวนครั้งของคำสั่ง.
* แฟ้มข้อมูล (file)
----------------
เพื่อที่จะเก็บข้อความที่ได้แก้ไขไปนั้น, ท่านจะต้องเก็บข้อความนั้นไว้ในแฟ้มข้อมูล. ไม่เช่นนั้น
ข้อความก็จะหายไปเมื่อท่านเลิกใช้อีแมกส์. การที่จะเก็บข้อความนั้นลงในแฟ้มข้อมูล, ท่าน
จะต้อง "ค้นหา (find)" แฟ้มข้อมูลก่อนที่จะเข้าไปในข้อความนั้นได้. (นี่เรียกว่า "การ
เยือน (visiting)" แฟ้มข้อมูล.)
การค้นหาแฟ้มข้อมูลหมายถึงการที่ท่านได้เห็นเนื้อหาของแฟ้มข้อมูลภายในอีแมกส์. ในหลายๆ
ทาง, ดูเหมือนว่าท่านกำลังแก้ไขข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอยู่. อย่างไรก็ตาม, การแก้ไขภายในอี
แมกส์นั้นจะไม่คงอยู่จนกว่าท่านจะ "จัดเก็บ (save)" แฟ้มข้อมูลนั้น. นี่เป็นการช่วยให้ท่าน
สามารถหลีกเลี่ยงการทำให้แฟ้มข้อมูลถูกแก้ไขไว้ครึ่งๆ กลางๆ ถ้าท่านไม่ได้ต้องการ. แม้ว่า
ท่านจะทำการจัดเก็บไปแล้วก็ตาม, อีแมกส์ก็ยังคงเหลือแฟ้มข้อมูลต้นฉบับไว้โดยเก็บไว้ในชื่อ
ใหม่, เผื่อไว้ในกรณีที่ท่านแก้ไขผิดพลาด.
ถ้าท่านสังเกตดูส่วนล่างของหน้าจอของอีแมกส์, ท่านจะเห็นบรรทัดที่เริ่มต้นและสิ้นสุดด้วย
เส้นประ. บรรทัดนั้นอาจจะเริ่มต้นด้วย "--:-- TUTORIAL" หรืออะไรทำนองนั้น. ส่วนนี้
ของหน้าจอ, โดยปรกติแล้ว, จะแสดงชื่อแฟ้มข้อมูลที่ท่านกำลังเยือนอยู่. ขณะนี้ท่านกำลัง
เยือนแฟ้มข้อมูลที่ชื่อว่า "TUTORIAL.th" ซึ่งเป็นสำเนาของคู่มือการใช้อีแมกส์. เมื่อท่านได้
เยือนแฟ้มข้อมูลด้วยอีแมกส์, ชื่อของแฟ้มข้อมูลนั้นจะปรากฏในที่ที่ได้กล่าวไว้แล้ว.
ลักษณะพิเศษข้อหนึ่งของคำสั่งเยือนแฟ้มข้อมูลคือ ท่านจะต้องบอกชื่อของแฟ้มข้อมูลที่จะ
เยือน. เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า "อ่านอาร์กิวเมนต์จากเครื่องปลายทาง" (ในกรณีนี้, อาร์
กิวเมนต์ก็คือชื่อของแฟ้มข้อมูล). หลังจากที่ท่านป้อนคำสั่ง
C-x C-f Find a file
อีแมกส์จะถามชื่อแฟ้มข้อมูล. ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ท่านป้อนเข้าไปจะปรากฏที่บรรทัดล่างของหน้าจอ.
บรรทัดล่างของหน้าจอเรียกว่ามินิบัฟเฟอร์ (minibuffer) เมื่อถูกใช้งานในลักษณะนี้.
ท่านสามารถใช้คำสั่งที่ใช้ในการแก้ไขปรกติของอีแมกส์แก้ไขชื่อของแฟ้มข้อมูล.
ขณะที่ท่านกำลังป้อนชื่อแฟ้มข้อมูล (หรือข้อมูลใดๆ ในมินิบัฟเฟอร์นี้), ท่านสามารถ
ยกเลิกคำสั่งด้วยการใช้คำสั่ง C-g.
>> ป้อนคำสั่ง C-x C-f, แล้วป้อนคำสั่ง C-g. นี่เป็นการยกเลิกมินิบัฟเฟอร์, และ
ยกเลิกคำสั่ง C-x C-f ที่กำลังใช้มินิบัฟเฟอร์อยู่. ผลลัพธ์คือท่านจะไม่ได้เยือน
แฟ้มข้อมูลใดๆ.
เมื่อท่านได้ป้อนชื่อแฟ้มข้อมูลเสร็จแล้ว, กดปุ่ม <Return> เพื่อที่จะสิ้นสุดคำสั่ง. แล้วคำสั่ง
C-x C-f ก็จะทำงาน, และจะเยือนแฟ้มข้อมูลที่ท่านได้เลือกไว้. มินิบัฟเฟอร์จะ
หายไปเมื่อเสร็จสิ้นคำสั่ง C-x C-f.
หลังจากนั้นไม่นานเนื้อหาของแฟ้มข้อมูลก็จะปรากฏบนหน้าจอ, และท่านก็จะสามารถแก้ไข
เนื้อหาได้. เมื่อท่านต้องการจะแก้ไขข้อความอย่างถาวร, ก็ให้ใช้คำสั่ง
C-x C-s Save the file
คำสั่งนี้จะทำสำเนาข้อความที่อยู่ในอีแมกส์เข้าไปเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล. ในการกระทำเช่นนี้ใน
ครั้งแรกสุด, อีแมกส์จะเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลต้นฉบับเพื่อว่าจะได้คงไว้. ชื่อใหม่นั้นตั้งขึ้นโดย
การเติม "~" เข้าไปท้ายชื่อแฟ้มข้อมูลต้นฉบับ.
เมื่อทำการจัดเก็บเรียบร้อยแล้ว, อีแมกส์จะพิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลนั้น. ท่านควรจะจัดเก็บข้อมูล
บ่อยๆ, เพื่อว่าท่านจะได้ไม่ต้องเสียงานไปมากนักหากระบบเกิดขัดข้อง.
>> ป้อนคำสั่ง C-x C-s, เพื่อจัดเก็บสำเนาคู่มือการใช้ของท่าน.
จะปรากฏ "Write ...TUTORIAL.th" ที่บรรทัดล่างสุดของหน้าจอ.
ท่านสามารถจะเยือนแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่แล้ว, เพื่อที่จะดูหรือแก้ไข. ท่านสามารถจะเยือน
แฟ้มข้อมูลที่ยังไม่ปรากฏก็ได้. นี่เป็นการสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ของอีแมกส์: เยือนแฟ้มข้อมูล,
ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยหน้าจอว่างเปล่า, แล้วทำการแทรกข้อความเพื่อที่จะสร้างเป็นแฟ้มข้อมูลต่อไป.
เมื่อท่านสั่งให้ "จัดเก็บ (save)" แฟ้มข้อมูล, อีแมกส์จึงจะสร้างแฟ้มข้อมูลด้วยข้อความที่
ท่านได้ป้อนเข้าไป. จากนี้ไป, ท่านสามารถจะตัดสินใจลองแก้ไขแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้.
* บัฟเฟอร์ (buffer)
-----------------
ถ้าท่านเยือนอีกแฟ้มข้อมูลโดยใช้คำสั่ง C-x C-f, แฟ้มข้อมูลแรกจะยังคงอยู่ในอีแมกส์. ท่าน
สามารถจะสลับกลับไปได้อีกโดยใช้คำสั่ง C-x C-f. วิธีนี้จะทำให้ท่านสามารถเยือนแฟ้มข้อมูล
ภายในอีแมกส์ได้จำนวนหนึ่ง.
>> สร้างแฟ้มข้อมูลและให้ชื่อว่า "foo" โดยการป้อนคำสั่ง C-x C-f foo <Return>.
แล้วป้อนข้อความ, แก้ไข, และจัดเก็บ "foo" โดยการป้อนคำสั่ง C-x C-s.
สุดท้าย, ป้อนคำสั่ง C-x C-f TUTORIAL <Return> เพื่อจะได้ย้อนกลับมาที่ข้อความ
ของคู่มือการใช้.
อีแมกส์เก็บข้อความของแต่ละแฟ้มข้อมูลภายในสิ่งๆ (object) หนึ่ง, ซึ่งเรียกว่า "บัฟเฟอร์
(buffer)". การเยือนแฟ้มข้อมูลเป็นการสร้างบัฟเฟอร์ใหม่ภายในอีแมกส์. ในการที่จะดู
รายการของบัฟเฟอร์ที่มีอยู่ในอีแมกส์นั้น, ให้ป้อนคำสั่ง:
C-x C-b List buffers
>> ลองป้อนคำสั่ง C-x C-b ดู.
ดูว่าแต่ละบัฟเฟอร์มีชื่อว่าอะไร, และบางอันก็เป็นชื่อของแฟ้มข้อมูลที่มีเนื้อหานั้นๆ อยู่. บาง
บัฟเฟอร์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแฟ้มข้อมูล. ตัวอย่างเช่น, บัฟเฟอร์ที่มีชื่อว่า "*Buffer List*"
ไม่มีแฟ้มข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น. นี่เป็นบัฟเฟอร์ซึ่งบรรจุเนื้อหาของรายการของบัฟเฟอร์ที่ถูกสร้าง
ด้วยคำสั่ง C-x C-b. ข้อความใดๆ ที่ท่านเห็นบนหน้าจอของอีแมกส์จะปรากฏอยู่เป็นส่วนหนึ่ง
ของบัฟเฟอร์ใดบัฟเฟอร์หนึ่งเสมอ.
>> ลองใช้คำสั่ง C-x 1 เพื่อที่จะกำจัดรายการของบัฟเฟอร์.
ถ้าท่านแก้ไขข้อความในแฟ้มข้อมูลหนึ่ง, แล้วเยือนอีกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง, อีแมกส์ยังไม่ได้จัดเก็บ
ข้อความของแฟ้มข้อมูลแรก. ข้อความที่ถูกแก้ไขไปจะยังคงอยู่ในอีแมกส์, ในบัฟเฟอร์สำหรับ
แฟ้มข้อมูลนั้น. การสร้างหรือการแก้ไขของบัฟเฟอร์สำหรับแฟ้มข้อมูลที่สองไม่ได้มีผลต่อ
บัฟเฟอร์สำหรับแฟ้มข้อมูลที่หนึ่ง. นี่เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก, แต่ก็หมายความว่าจะต้องมี
วิธีการที่ดีในการจัดเก็บบัฟเฟอร์ของแฟ้มข้อมูลแรก. นี่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องสลับกลับไป
ยังแฟ้มข้อมูลแรกด้วยคำสั่ง C-x C-f ก่อน, เพื่อที่จะได้ใช้คำสั่ง C-x C-s ในการจัดเก็บ.
ดังนั้นเราจึงเตรียมคำสั่ง
C-x s Save some buffers
คำสั่ง C-x s จะถามท่านเกี่ยวกับบัฟเฟอร์ที่ได้รับการแก้ไขแต่ยังไม่ได้รับการจัดเก็บ. อี
แมกส์จะถามท่าน, สำหรับแต่ละบัฟเฟอร์ดังกล่าว, ว่าจะจัดเก็บหรือไม่.
>> แทรกข้อความสักหนึ่งบรรทัด, แล้วป้อนคำสั่ง C-x s.
อีแมกส์จะถามท่านว่าจะจัดเก็บบัฟเฟอร์ชื่อ TUTORIAL ไหม.
ตอบว่าใช่โดยการป้อน "y".
* การเพิ่มชุดคำสั่ง
--------------
มีคำสั่งของอีแมกส์อยู่อีกมากมายจนเกินกว่าที่จะสามารถกำกับได้ด้วยอักขระประสมกับอักขระ
คอนโทรล (control character) และอภิอักขระ (meta character). อีแมกส์ใช้การ
ประสมกับคำสั่งเสริม (eXtend command). การเสริมนี้เป็นไปได้สองลักษณะ:
C-x การเสริมอักขระ (Character eXtend). ตามด้วยหนึ่งตัวอักษร.
M-x การเสริมด้วยชื่อคำสั่ง (Named command eXtend). ตามด้วยชื่อเต็ม.
คำสั่งเหล่านี้โดยทั่วไปแล้วจะมีประโยชน์, แต่มักจะมีโอกาสใช้น้อยกว่าคำสั่งต่างๆ ที่ท่านได้
เรียนรู้ไปแล้ว. ท่านได้พบไปแล้วสองคำสั่ง: คำสั่งสำหรับการจัดการกับแฟ้มข้อมูล C-x C-f
สำหรับการเยือน (Find) และ C-x C-s สำหรับการจัดเก็บ (Save). อีกตัวอย่างหนึ่งก็
คือคำสั่งที่ใช้ในการเลิกใช้อีแมกส์--คำสั่ง C-x C-c. (ไม่ต้องเป็นห่วงว่าข้อมูลที่ท่านได้
แก้ไขไปจะสูญหาย; คำสั่ง C-x C-c จะเสนอให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลที่ถูกแก้ไขไปก่อนที่จะสิ้นสุด
อีแมกส์.)
คำสั่ง C-z เป็นคำสั่งที่ใช้ในการออกจากอีแมกส์เป็นการชั่วคราว *temporarily*--ฉะนั้น
ท่านสามารถกลับไปสู่อีแมกส์ได้อีกหลังจากนั้น.
สำหรับระบบที่อนุญาตให้ใช้คำสั่ง, C-z "suspends" อีแมกส์; นั่นคือการกลับไปยังเชลล์
(shell) โดยไม่ได้ทำลายอีแมกส์. ในเชลล์ทั่วไป, ท่านสามารถรีซูม (resume) อีแมกส์
ได้ด้วยคำสั่ง "fg" หรือด้วยคำสั่ง "%emacs".
สำหรับระบบที่ไม่มีฟังก์ชัน "suspend", คำสั่ง C-z จะสร้างซับเชลล์ (subshell)
ภายใต้อีแมกส์เพื่อให้ท่านมีโอกาสดำเนินงานโปรแกรมอื่นก่อนแล้วค่อยกลับมายังอีแมกส์อีกครั้ง;
ซึ่งไม่ใช่การ "ออกจาก (exit)" อีแมกส์จริง. ในกรณีนี้, คำสั่งเชลล์ "exit" เป็นคำสั่ง
ปรกติที่ใช้ในการกลับไปยังอีแมกส์จากซับเชลล์.
ใช้คำสั่ง C-x C-c ก็ต่อเมื่อท่านต้องการจะเลิกใช้อีแมกส์จริงๆ. วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องใน
การที่จะเลิกใช้อีแมกส์, ไม่ว่าอีแมกส์นั้นจะถูกเรียกใช้จากโปรแกรมจัดการเมลล์ (mail
handling programs) หรือโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility programs) ต่างๆ,
เนื่องจากว่าโปรแกรมเหล่านี้ไม่มีวิธีการจัดการกับอีแมกส์ได้โดยตรง. ในสภาพการทำงาน
ปรกติ, ถ้าท่านไม่ได้ต้องการจะเลิกใช้อีแมกส์จริงๆ, ท่านก็ควรจะ suspend โดยการใช้
คำสั่ง C-z แทนการเลิกใช้ไปเลย.
ยังมีคำสั่งที่อยู่ในชุดคำสั่ง C-x อีกมาก. ต่อไปนี้เป็นรายการคำสั่งที่ท่านได้เรียนรู้ไปแล้ว:
C-x C-f เยือนแฟ้มข้อมูล (Find file).
C-x C-s จัดเก็บแฟ้มข้อมูล (Save file).
C-x C-b ทำรายการบัฟเฟอร์ (List buffers).
C-x C-c เลิกใช้อีแมกส์ (Quit Emacs).
C-x 1 ลบหน้าจอทั้งหมดโดยคงอยู่ไว้หนึ่งหน้าจอ
(Delete all but one window).
C-x u ทำย้อน (Undo).
คำสั่งที่มีชื่อคำสั่งเสริมนี้เป็นคำสั่งที่ใช้ไม่ค่อยบ่อยนัก, หรือเป็นคำสั่งที่ใช้เฉพาะในบางโหมด
เท่านั้น. ตัวอย่างหนึ่งของคำสั่งนี้คือคำสั่งเปลี่ยนแทน-สายอักขระ (replace-string),
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแทนสายอักขระหนึ่งด้วยอีกสายอักขระหนึ่งทั้งหมด. เมื่อท่านป้อนคำสั่ง M-x,
อีแมกส์แสดง M-x ที่บรรทัดล่างสุดของหน้าจอ, ในที่นี้ท่านจะต้องพิมพ์ชื่อของคำสั่ง; ในกรณีนี้
คือ "replace-string". ท่านอาจจะพิมพ์ "repl s<TAB>" แล้วอีแมกส์จะเติมชื่อคำสั่งให้
เต็มเองได้. สิ้นสุดคำสั่งด้วยการกดปุ่ม <Return>.
คำสั่งเปลี่ยนแทน-สายอักขระ (replace-string) ต้องการสองอาร์กิวเมนต์--สายอักขระ
ที่จะถูกเปลี่ยนแทน, และสายอักขระที่จะใช้เปลี่ยนแทน. ท่านจะต้องสิ้นสุดการป้อนแต่ละอาร์
กิวเมนต์ด้วยการกดปุ่ม <Return>.
>> เคลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังบรรทัดเปล่าที่อยู่ใต้บรรทัดนี้ไปสองบรรทัด.
แล้วป้อนคำสั่ง M-x repl s<Return>changed<Return>altered<Return>.
สังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของบรรทัดนี้: ท่านได้เปลี่ยนแทนคำว่า c-h-a-n-g-e-d
ด้วยคำว่า "altered" ในทุกที่ที่ปรากฏตั้งแต่ตำแหน่งที่เคอร์เซอร์อยู่ปัจจุบัน.
* จัดเก็บอัตโนมัติ (auto save)
-------------------------
เมื่อท่านได้แก้ไขแฟ้มข้อมูลแล้ว, แต่ท่านยังไม่ได้จัดเก็บ, แฟ้มข้อมูลเหล่านั้นอาจสูญหายได้ถ้า
เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านเกิดขัดข้อง. เพื่อป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้, อีแมกส์ทำการเขียน
ข้อความสำหรับแต่ละแฟ้มข้อมูลที่ท่านกำลังทำการแก้ไขอยู่ลงในแฟ้มข้อมูล "จัดเก็บอัตโนมัติ
(auto save)". ชื่อของแฟ้มข้อมูลจัดเก็บอัตโนมัติ (auto save file) จะถูกตั้งใหม่ให้
มีอักขระ "#" อยู่ทั้งข้างหน้าและข้างหลังชื่อแฟ้มข้อมูลต้นฉบับ; ตัวอย่างเช่น, ถ้าชื่อของ
แฟ้มข้อมูลนั้นเป็น "hello.c", ชื่อของแฟ้มข้อมูลจัดเก็บอัตโนมัติจะเป็น "#hello.c#".
เมื่อท่านทำการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลด้วยวิธีการปรกติแล้ว, อีแมกส์จะลบแฟ้มข้อมูลจัดเก็บอัตโนมัติ
นั้นเสีย.
ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้อง, ท่านสามารถกู้ (recover) จากแฟ้มข้อมูลจัดเก็บ
อัตโนมัตินั้นได้ด้วยการเยือนแฟ้มข้อมูลแบบปรกติ (แฟ้มข้อมูลที่ท่านกำลังแก้ไขอยู่, ไม่ใช่
แฟ้มข้อมูลจัดเก็บอัตโนมัติ), แล้วพิมพ์คำสั่ง M-x recover file<Return>. เมื่อมีการ
ถามเพื่อการยืนยัน, พิมพ์คำว่า yes<Return> เพื่อดำเนินการต่อและทำการกู้ข้อมูลที่ถูก
จัดเก็บอัตโนมัตินั้น.
* บริเวณสะท้อน (echo area)
------------------------
อีแมกส์อ่านคำสั่งประสม (multicharacter command) ขณะที่ท่านกำลังพิมพ์เข้าไปช้าๆ,
อีแมกส์จะแสดงคำสั่งต่างๆ ที่ท่านได้พิมพ์เข้าไปตรงส่วนล่างของหน้าจอตรงบริเวณที่เรียกว่า
"บริเวณสะท้อน (echo area)". บริเวณสะท้อนคือบรรทัดล่างสุดของหน้าจอ.
* บรรทัดแสดงโหมด (mode line)
---------------------------
บรรทัดที่อยู่เหนือบริเวณสะท้อนนั้นเรียกว่า "mode line". บรรทัดแสดงโหมดจะแสดง
ข้อความบางอย่างในลักษณะ:
--:** TUTORIAL (Fundamental)--L670--58%----------------
บรรทัดนี้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับสถานภาพของอีแมกส์และข้อความที่ท่านกำลังทำการ
แก้ไขอยู่.
ท่านทราบแล้วว่าชื่อแฟ้มข้อมูลมีความหมายอย่างไร--คือแฟ้มข้อมูลที่ท่านได้เยือนอยู่. -NN%--
บ่งบอกตำแหน่งปัจจุบันในข้อความของท่าน; นั่นหมายความว่ามีข้อความ NN เปอร์เซนต์ที่อยู่
เหนือตำแหน่งสูงสุดของหน้าจอ. ถ้าตำแหน่งสูงสุดของแฟ้มข้อมูลอยู่บนหน้าจอ, จะปรากฏ
--Top-- แทนที่จะเป็น --00%--. ถ้าตำแหน่งล่างสุดของข้อความอยู่บนหน้าจอ, จะปรากฏ
--Bot--. ถ้าท่านกำลังเยือนแฟ้มข้อมูลที่เล็กมากจนข้อความทั้งหมดอยู่บนหน้าจอ, บรรทัด
แสดงโหมดจะแสดงว่า --All--.
เครื่องหมายดอกจันบริเวณต้นๆ ของบรรทัดแสดงโหมดหมายความว่าท่านได้ทำการ
เปลี่ยนแปลงเนื้อหาในข้อความแล้ว. หากท่านเพิ่งเยือนหรือจัดเก็บแฟ้มข้อมูล, ส่วนที่
ได้กล่าวถึงนั้นจะไม่มีเครื่องหมายดอกจันปรากฏ, จะมีแต่เส้นประ (dashes).
ส่วนที่อยู่ระหว่างวงเล็บภายในบรรทัดแสดงโหมดจะบอกท่านว่าท่านกำลังอยู่ในโหมดการแก้ไข
(editing mode) อะไร. โหมดโดยปริยาย (default mode) คือ Fundamental ที่
ท่านกำลังใช้อยู่ในขณะนี้. นี่คือตัวอย่างของ "โหมดหลัก (major mode)".
อีแมกส์มีโหมดหลักอยู่หลายโหมด. บ้างใช้สำหรับการแก้ไขในภาษาและ/หรือข้อความชนิดต่างๆ,
เช่น Lisp mode, Text mode, เป็นต้น. ท่านจะอยู่ในโหมดหลักใดโหมดหลักหนึ่งในเวลา
เดียว, และชื่อของโหมดหลักนั้นจะปรากฏอยู่ที่บรรทัดแสดงโหมด, ที่ที่มี "Fundamental"
ปรากฏอยู่ในขณะนี้.
แต่ละโหมดหลักจะทำให้คำสั่งให้ผลในลักษณะที่แตกต่างกัน. ตัวอย่างเช่น, มีหลายคำสั่งที่ใช้
ในการกำกับหมายเหตุ (comment) ในโปรแกรม, และเนื่องจากแต่ละโปรแกรมมีความคิด
ในการแสดงผลของหมายเหตุที่แตกต่างกัน, แต่ละโหมดหลักจะแทรกหมายเหตุในลักษณะที่
แตกต่างกัน. แต่ละโหมดหลักจะเป็นชื่อของคำสั่งเสริม, ที่ท่านสามารถบอกให้สลับไปยังโหมดที่
ต้องการได้. ตัวอย่างเช่น, M-x fundamental-mode เป็นคำสั่งในการสลับไปยัง
Fundamental mode.
ถ้าท่านกำลังจะแก้ไขข้อความที่เป็นภาษาไทย, เช่นในแฟ้มข้อมูลนี้, ท่านควรจะใช้
Thai-text mode.
>> M-x thai-text-mode<Return>
ไม่ต้องกังวล, คำสั่งที่ท่านกำลังศึกษาอยู่นี้ไม่ได้ให้ผลกระทบมากนัก. แต่ท่านสามารถสังเกตได้
ว่าคำสั่ง M-f และ M-b ถือว่าอักขระ apostrophe เป็นส่วนหนึ่งของคำ. ก่อนหน้านี้, ใน
Fundamental mode, คำสั่ง M-f และ M-b ถือว่าอักขระ apostrophe เป็นตัวแบ่งคำ
(word-separator).
โหมดหลักเหล่านี้จะให้ผลที่ต่างออกไปเล็กน้อยดังที่กล่าวแล้วข้างต้น: คำสั่งส่วนใหญ่ "ทำหน้าที่
เหมือนกัน" แม้จะอยู่ในโหมดหลักที่ต่างกัน, แต่ให้ผลที่ต่างออกไปบ้างเล็กน้อย.
ใช้คำสั่ง C-h m เพื่ออ่านรายละเอียดของโหมดหลักปัจจุบันที่ท่านอยู่.
>> ใช้คำสั่ง C-u C-v หนึ่งครั้งหรือมากกว่านั้นเพื่อที่จะขยับบรรทัดนี้ขึ้นไปยังส่วนบนของหน้าจอ.
>> ป้อนคำสั่ง C-h m, เพื่อดูว่า Text mode ต่างจาก Fundamental mode อย่างไร.
>> ป้อนคำสั่ง C-x 1 เพื่อขจัดเอกสารชี้แจงออกจากหน้าจอ.
ที่เรียกว่าโหมดหลักนั้นก็เพราะว่ามีโหมดย่อย (minor mode) อีก. โหมดย่อยไม่ได้เป็น
ตัวเลือกในโหมดหลัก, เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น. แต่ละโหมดย่อยสามารถ
จะเปิดหรือปิดได้ภายในตัวเอง, คือแต่ละโหมดย่อยจะทำงานโดยอิสระจากกัน, และ
เป็นอิสระจากโหมดหลักด้วย. ฉะนั้นท่านสามารถไม่ใช้โหมดย่อยเลย, หรือหนึ่งโหมดย่อย, หรือ
โหมดย่อยหลายๆ โหมดผสมกันก็ได้.
โหมดย่อยที่มีประโยชน์มาก, โดยเฉพาะสำหรับใช้แก้ไขข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษ, คือ
โหมดจัดบรรทัดอัตโนมัติ (Auto Fill). เมื่อโหมดนี้ทำงาน, อีแมกส์จะแบ่งบรรทัดระหว่าง
คำอัตโนมัติ, ทันทีที่ท่านแทรกข้อความและทำให้บรรทัดนั้นยาวเกินไป.
ท่านสามารถเปิดโหมดจัดบรรทัดอัตโนมัติได้โดยการใช้คำสั่ง M-x auto fill
mode<Return>. เมื่อโหมดนี้ทำงานอยู่, ท่านสามารถปิดโหมดนี้ได้โดยการใช้คำสั่ง M-x
auto fill mode<Return>. ถ้าโหมดนี้ปิดอยู่, คำสั่งนี้จะเปิดโหมดให้ทำงาน, และถ้า
โหมดนี้เปิดอยู่, คำสั่งนี้ก็จะปิดโหมด. คือพูดได้ว่าคำสั่งนี้ "toggles the mode".
>> ป้อนคำสั่ง M-x auto fill mode<Return> ดู. แล้วป้อน "asdf " ซ้ำๆ กันไปจน
ท่านเห็นว่าบรรทัดนั้นถูกแบ่งออกเป็นสองบรรทัด. ท่านต้องใส่เว้นวรรคเพราะว่าการจัด
บรรทัดอัตโนมัติจะแบ่งบรรทัดตรงเว้นวรรคเท่านั้น.
ขอบเผื่อ (margin) โดยมากจะตั้งให้ที่ 70 ตัวอักษร, แต่ท่านก็สามารถเปลี่ยนด้วยคำสั่ง
C-x f. ท่านควรตั้งขอบเผื่อด้วยตัวเลขอาร์กิวเมนต์ตามที่ท่านต้องการ.
>> ป้อนคำสั่ง C-x f พร้อมด้วยอาร์กิวเมนต์ 20. (C-u 2 0 C-x f).
แล้วป้อนข้อความและจะเห็นว่าอีแมกส์จัดบรรทัดที่มีขนาด 20 ตัวอักษร. แล้วตั้งขอบ
เผื่อเป็น 70 โดยใช้คำสั่ง C-x f อีกครั้ง.
ถ้าท่านทำการเปลี่ยนแปลงตรงกลางย่อหน้า, โหมดจัดบรรทัดอัตโนมัติจะไม่จัดบรรทัดใหม่
(re-fill) ให้ท่าน. ถ้าจะจัดบรรทัดใหม่ให้กับย่อหน้านั้น, ให้ป้อนคำสั่ง M-q (META-q)
โดยวางตำแหน่งเคอร์เซอร์ไว้ภายในย่อหน้านั้น.
>> เคลื่อนเคอร์เซอร์เข้าไปยังย่อหน้าข้างบน, แล้วป้อนคำสั่ง M-q.
* การสืบค้น (searching)
---------------------
อีแมกส์สามารถสืบค้นสายอักขระ (กลุ่มของตัวอักษรหรือคำที่อยู่ต่อเนื่องกัน) ไม่ว่าจะไป
ข้างหน้าหรือย้อนกลับ, ทั่วทั้งข้อความ. การสืบค้นสายอักขระคือคำสั่งในการเคลื่อนตำแหน่ง
ของเคอร์เซอร์; เคอร์เซอร์จะเคลื่อนไปอยู่ที่ตำแหน่งถัดไปที่มีสายอักขระนั้นอยู่.
คำสั่งสืบค้นในอีแมกส์ต่างจากคำสั่งสืบค้นในโปรแกรมบรรณาธิกรณ์ (editor) ส่วนใหญ่, ใน
ลักษณะที่เป็น "incremental". นี่หมายความว่าการสืบค้นเริ่มตั้งแต่ที่ท่านได้ป้อนอักขระที่
ต้องการสืบค้น.
คำสั่งที่ใช้เพื่อให้ทำการสืบค้นไปข้างหน้าคือ C-s, และทำการสืบค้นย้อนไปข้างหลังคือ
C-r. แต่คอยก่อน! อย่าเพิ่งลอง.
เมื่อท่านป้อนคำสั่ง C-s ท่านจะสังเกตเห็นว่ามีคำว่า "I-search" ปรากฏที่บริเวณสะท้อน
(echo area). นี่แสดงว่าอีแมกส์ได้อยู่ในการค้นแบบ incremental และกำลังรอ
สิ่งที่ท่านจะพิมพ์เพื่อสืบค้น. กดปุ่ม <Return> เพื่อสิ้นสุดคำสั่งสืบค้น.
>> ป้อนคำสั่ง C-s เพื่อเริ่มการสืบค้น. พิมพ์อักษรทีละตัวช้าๆ, พิมพ์คำว่า 'cursor',
หยุดหลังจากที่ท่านพิมพ์ทีละตัวอักษร, แล้วดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเคอร์เซอร์.
ขณะนี้ท่านได้สืบค้นคำว่า "cursor" ไปหนึ่งหนแล้ว.
>> ป้อนคำสั่ง C-s อีกครั้ง, เพื่อสืบค้นตำแหน่งถัดไปของคำว่า "cursor".
>> กดปุ่ม <Delete> สักสี่ครั้ง, แล้วดูว่าเคอร์เซอร์เคลื่อนที่อย่างไร.
>> กดปุ่ม <Return> เพื่อสิ้นสุดคำสั่งสืบค้น.
ท่านเห็นหรือไม่ว่ามีอะไรเกิดขึ้น? ในการสืบค้นแบบ incremental, อีแมกส์พยายาม
เคลื่อนไปตามสายอักขระที่ท่านได้พิมพ์ลงไปในแต่ละครั้ง. ถ้าจะเคลื่อนไปยังตำแหน่ง
ถัดไปของคำ, ก็ทำได้โดยการป้อนคำสั่ง C-s อีกครั้ง. ถ้าไม่มีคำนั้นอีกแล้ว, อีแมกส์จะร้อง
บอก (beep) ท่านว่าการสืบค้นครั้งนั้น "พลาด (failing)", คำสั่ง C-g ก็สามารถใช้ใน
การสิ้นสุดการสืบค้นได้.
ข้อสังเกต: ในบางระบบ, การป้อนคำสั่ง C-s จะทำให้ระบบของท่านชะงักและท่านจะไม่เห็น
ข้อความอะไรบนอีแมกส์. ลักษณะนี้แสดงว่า "feature" ของระบบปฏิบัติการ, ที่เรียกว่า
"flow control" นั้น, ได้ขัดขวางการทำงานของคำสั่ง C-s และไม่ยอมให้กลับสู่อีแมกส์
อีก. การที่จะแก้ไขการหยุดชะงักนั้น, ให้ป้อนคำสั่ง C-q. ศึกษาวิธีการจัดการกับ "feature"
นี้ได้ที่บทที่ว่าด้วย "Spontaneous Entry to Incremental Search" ในคู่มือของอีแมกส์.
ถ้าท่านอยู่ระหว่างการสืบค้นแบบ incremental อยู่, แล้วท่านกดปุ่ม <Delete>, ท่านจะ
สังเกตเห็นว่าตัวอักษรสุดท้ายที่ท่านป้อนเข้าไปนั้นถูกลบออก, และจะย้อนกลับไปยังตำแหน่ง
ก่อนหน้าของการสืบค้น. ตัวอย่างเช่น, สมมุติว่าท่านได้ป้อนตัวอักษร "c", เพื่อที่จะสืบค้น
ตำแหน่งที่ปรากฏตัวอักษร "c" นั้น. ตอนนี้ถ้าท่านพิมพ์ตัวอักษร "u", เคอร์เซอร์ก็จะ
เคลื่อนไปอยู่ที่ตำแหน่งที่ปรากฏสายอักขระ "cu" แรกสุด. ตอนนี้ให้กดปุ่ม <Delete>.
ตัวอักษร "u" จะถูกลบออกจากสายอักขระที่ทำการสืบค้นอยู่, และเคอร์เซอร์ก็จะเคลื่อน
กลับไปยังตำแหน่งที่ปรากฏตัวอักษร "c" แรกสุด.
ถ้าท่านอยู่ระหว่างการสืบค้น, แล้วป้อนคำสั่งประสมของ CONTROL หรือ META (นอกจาก
ข้อยกเว้นบางประการ--คำสั่งพิเศษที่ใช้สำหรับการสืบค้น, ได้แก่ C-s และ C-r), การสืบ
ค้นจะสิ้นสุดลง.
คำสั่ง C-s เริ่มการสืบค้นด้วยการมองหาสายอักขระตั้งแต่ตำแหน่งปัจจุบันของเคอร์เซอร์.
ถ้าท่านต้องการสืบค้นสายอักขระที่อยู่ก่อนหน้าในข้อความนั้น, ให้ป้อนคำสั่ง C-r แทน.
คำสั่ง C-s จะทำงานเหมือนกับคำสั่ง C-r ทุกอย่าง, ยกเว้นทิศทางของการสืบค้น
เท่านั้น, ที่ตรงข้ามกัน.
* วินโดว์แบบหลายวินโดว์ (multiple windows)
--------------------------------------
ลักษณะที่น่าสนใจอันหนึ่งของอีแมกส์ก็คือ, ท่านสามารถแสดงผลได้มากกว่าหนึ่งวินโดว์บนหนึ่ง
หน้าจอในเวลาเดียวกัน.
>> เคลื่อนเคอร์เซอร์มาที่บรรทัดนี้, แล้วป้อนคำสั่ง C-u 0 C-l.
>> ต่อไป, ป้อนคำสั่ง C-x 2 ซึ่งจะแบ่งหน้าจอออกเป็นสองวินโดว์.
ทั้งสองวินโดว์แสดงคู่มือการใช้นี้. เคอร์เซอร์ปรากฏอยู่ในวินโดว์บน.
>> ป้อนคำสั่ง C-M-v เพื่อเคลื่อนม้วนวินโดว์ข้างล่าง.
(ถ้าท่านไม่มีปุ่ม META, ป้อนคำสั่ง ESC C-v แทน.)
>> ป้อนคำสั่ง C-x o ("o" หมายถึง "other") เพื่อเคลื่อนเคอร์เซอร์มายังวินโดว์ล่าง.
>> ใช้คำสั่ง C-v และ M-v ในวินโดว์ล่างเพื่อที่จะเคลื่อนม้วน.
อ่านคำแนะนำนี้ด้วยวินโดว์บน.
>> ป้อนคำสั่ง C-x o อีกครั้งเพื่อที่จะเคลื่อนเคอร์เซอร์กลับไปวินโดว์บน.
เคอร์เซอร์ในวินโดว์บนจะปรากฏตรงที่ที่เคยปรากฏ.
ท่านสามารถใช้คำสั่ง C-x o เพื่อสลับไปมาระหว่างวินโดว์. แต่ละวินโดว์มีตำแหน่งของ
เคอร์เซอร์ของตัวเอง, แต่จะมีเพียงวินโดว์เดียวเท่านั้นที่แสดงตัวเคอร์เซอร์. ทุกคำสั่งก็จะ
มีผลต่อวินโดว์ที่มีเคอร์เซอร์ปรากฏอยู่เท่านั้น. เราเรียกวินโดว์นี้ว่า "วินโดว์ที่ถูกเลือก
(selected window)".
คำสั่ง C-M-v มีประโยชน์มากเมื่อท่านกำลังแก้ไขข้อความบนวินโดว์หนึ่ง, และดูอีกวินโดว์หนึ่ง
เพื่อการอ้างอิง. ท่านสามารถให้เคอร์เซอร์ปรากฏบนวินโดว์ที่ท่านกำลังแก้ไขอยู่ตลอดเวลา,
แล้วเคลื่อนตำแหน่งของอีกวินโดว์หนึ่งด้วยคำสั่ง C-M-v.
คำสั่ง C-M-v เป็นตัวอย่างหนึ่งของคำสั่งประสม CONTROL-META. ถ้าท่านมีปุ่ม META,
ท่านสามารถป้อนคำสั่ง C-M-v โดยการกดปุ่ม CONTROL และ META ขณะที่กดปุ่มอักขระ
v. ไม่ว่าจะกดปุ่ม CONTROL หรือ META ก่อนก็ไม่มีปัญหาอะไร, เพราะว่าทั้งสองปุ่มเป็นปุ่ม
ขยายของปุ่มอักขระที่ท่านจะกด.
ถ้าท่านไม่มีปุ่ม META, และท่านใช้ปุ่ม ESC แทน, ลำดับของการกดปุ่มจะมีผลต่อการทำงาน:
ท่านต้องกดปุ่ม ESC แล้วตามด้วยคำสั่ง CONTROL-v, เพราะว่าคำสั่ง CONTROL-ESC v จะไม่
ทำงาน. ทั้งนี้เพราะว่าปุ่ม ESC เป็นอักขระตัวหนึ่ง, ไม่ใช่ปุ่มขยาย.
>> ป้อนคำสั่ง C-x 1 (ในวินโดว์บน) เพื่อกำจัดวินโดว์ล่าง.
(ถ้าท่านป้อนคำสั่ง C-x 1 ในวินโดว์ล่าง, วินโดว์บนก็จะหายไป. ท่านสามารถจำ
คำสั่งนี้ได้โดยคิดว่า "เหลือไว้เพียงหนึ่งวินโดว์--วินโดว์ที่อยู่ในขณะนี้.")
ท่านไม่จำเป็นต้องแสดงผลของบัฟเฟอร์เดียวกันบนทั้งสองวินโดว์. ถ้าท่านใช้คำสั่ง C-x C-f
เพื่อค้นหาแฟ้มข้อมูลในวินโดว์หนึ่ง, อีกวินโดว์หนึ่งจะไม่เปลี่ยนแปลง. ท่านสามารถค้นหา
แฟ้มข้อมูลในแต่ละวินโดว์ได้อิสระต่อกัน.
ต่อไปเป็นอีกวิธีหนึ่งของการใช้สองวินโดว์สำหรับแสดงผลของสองสิ่งที่ต่างกัน:
>> ป้อนคำสั่ง C-x 4 C-f แล้วตามด้วยชื่อแฟ้มข้อมูล. สิ้นสุดคำสั่งด้วยการกดปุ่ม
<Return>. จะเห็นว่ามีแฟ้มข้อมูลที่ต้องการปรากฏอยู่ในวินโดว์ล่าง. เคอร์เซอร์ก็จะไป
ปรากฏที่วินโดว์นั้นด้วย.
>> ป้อนคำสั่ง C-x o เพื่อกลับไปยังวินโดว์บน, แล้วป้อนคำสั่ง C-x 1 เพื่อกำจัดวินโดว์ล่าง.
* ระดับของการแก้ไขแบบเรียกซ้ำ (recursive editing levels)
-------------------------------------------------------
บางครั้งท่านอาจจะเข้าไปอยู่ใน "ระดับของการแก้ไขแบบการเรียกซ้ำ (recursive editing
level)". สภาพดังกล่าวเช่นนี้แสดงด้วยวงเล็บก้ามปูในบรรทัดแสดงโหมด, ล้อมรอบวงเล็บที่
แสดงชื่อของโหมดหลัก. ตัวอย่างเช่น, ท่านอาจจะเห็น [(Fundamental)] แทนที่จะเป็น
(Fundamental).
ในการที่จะออกจากระดับของการแก้ไขแบบเรียกซ้ำ, กดปุ่ม ESC ESC ESC. นี่เป็น
คำสั่งที่ใช้ได้ทั่วไปในการออกจากระดับใดๆ ของการประมวลผล. ท่านสามารถใช้คำสั่งนี้ใน
การกำจัดวินโดว์พิเศษอื่นๆ, รวมทั้งการออกจากมินิบัฟเฟอร์ (minibuffer).
>> ป้อนคำสั่ง M-x เพื่อเข้าไปในมินิบัฟเฟอร์; กดปุ่ม ESC ESC ESC เพื่อออกจาก
มินิบัฟเฟอร์นั้น.
ท่านไม่สามารถใช้คำสั่ง C-g เพื่อออกจากระดับของการแก้ไขแบบเรียกซ้ำ.
เพราะว่าคำสั่ง C-g ใช้เพื่อยกเลิกคำสั่งและอาร์กิวเมนต์ภายในระดับของการแก้ไขแบบ
เรียกซ้ำ.
* การเรียกดูข้อความช่วยเหลือเพิ่มเติม (getting more help)
-------------------------------------------------
ในคู่มือนี้เราพยายามที่จะให้ข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการเริ่มใช้อีแมกส์. ยังคงมีข้อมูลอีกมากใน
อีแมกส์ซึ่งเราไม่สามารถที่จะนำมาอธิบายไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมด. อย่างไรก็ตาม, ท่านอาจต้องการ
เรียนรู้เกี่ยวกับอีแมกส์เพิ่มเติมเพราะอีแมกส์ยังมีคุณสมบัติอีกมากมาย. อีแมกส์ได้เตรียมคำสั่ง
สำหรับเรียกดูเนื้อหาเกี่ยวกับคำสั่งของอีแมกส์. คำสั่ง "ช่วยเหลือ (help)" ทั้งหมดเริ่มด้วย
อักขระ CONTROL-h, ซึ่งเรียกว่า "อักขระช่วยเหลือ (the Help character)".
ในการที่จะใช้คุณสมบัติช่วยเหลือ, ป้อนอักขระ C-h, แล้วตามด้วยอีกหนึ่งอักขระเพื่อบอกว่า
ท่านต้องการคำช่วยเหลืออะไร. ถ้าท่านไม่ทราบว่าจะทำอะไรต่อไป, ป้อนคำสั่ง C-h ? แล้ว
อีแมกส์จะบอกท่านว่ามีคำช่วยอะไรที่อีแมกส์สามารถจะให้ได้. ถ้าท่านป้อนคำสั่ง C-h แล้ว
ต้องการยกเลิกท่าน, ก็สามารถยกเลิกได้โดยใช้คำสั่ง C-g.
(ในบางระบบนั้น, ความหมายของอักขระ C-h ได้ถูกเปลี่ยนไป. ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วไม่
ควรจะทำเช่นนี้, ทั้งนี้ท่านอาจจะชี้แจงต่อผู้ดูแลระบบได้. สำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า, ถ้า
คำสั่ง C-h ไม่ได้แสดงข้อความเกี่ยวกับคำช่วยเหลือที่ส่วนล่างของหน้าจอนั้น, ให้ลองกดปุ่ม F1
หรือ M-x help<Return> แทน.)
คุณสมบัติเบื้องต้นของคำสั่งช่วยเหลือคือคำสั่ง C-h c. ลองป้อนคำสั่ง C-h, อักขระ c, แล้ว
ตามด้วยอักขระหรือสายอักขระ; แล้วอีแมกส์จะแสดงคำอธิบายของคำสั่งนั้นโดยสังเขป.
>> ป้อนคำสั่ง C-h c CONTROL-p.
ข้อความที่ปรากฏจะเป็นดังต่อไปนี้
C-p runs the command previous-line
นี่เป็นการบอก "ชื่อฟังก์ชันของคำสั่ง" นั้น. ชื่อของฟังก์ชันใช้เพื่อการปรับและแต่งเติมอีแมกส์.
แต่เนื่องจากชื่อของฟังก์ชันนั้นตั้งเพื่อชี้บอกว่าคำสั่งนั้นทำงานอย่างไร, ซึ่งอาจเป็นตัวช่วยบอก
คำอธิบายโดยสังเขปได้--อาจเพียงพอที่จะเตือนให้ท่านนึกถึงคำสั่งที่ต้องการได้.
คำสั่งที่ประกอบด้วยหลายอักขระ เช่นคำสั่ง C-x C-s และ (ถ้าท่านไม่มีปุ่ม META หรือ
EDIT หรือ ALT) คำสั่ง <ESC>v สามารถใช้ตามหลังคำสั่ง C-h c.
การที่จะเรียกดูข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับคำสั่ง, ให้ใช้คำสั่ง C-h k แทนคำสั่ง C-h c.
>> ป้อนคำสั่ง C-h k CONTROL-p.
นี่เป็นการแสดงผลคำอธิบายของฟังก์ชัน, พร้อมกับชื่อของคำสั่งนั้น, ในวินโดว์หนึ่งของอีแมกส์.
เมื่อท่านอ่านเสร็จแล้ว, ป้อนคำสั่ง C-x 1 เพื่อกำจัดข้อความของคำช่วยเหลือ. ท่านไม่
จำเป็นที่จะต้องทำทันที. ท่านอาจทำการแก้ไขขณะที่ดูข้อความคำช่วยเหลือนั้นอยู่, แล้ว
ค่อยป้อนคำสั่ง C-x 1.
ต่อไปนี้เป็นตัวเลือกที่เป็นประโยชน์:
C-h f อธิบายฟังก์ชัน. พิมพ์ชื่อฟังก์ชันที่ต้องการทราบตามลงไป.
>> ลองป้อนคำสั่ง C-h f previous-line<Return>.
นี่เป็นการที่จะทำให้อีแมกส์พิมพ์ข้อมูลทั้งหมดที่มีเกี่ยวกับฟังก์ชันของคำสั่ง C-p.
C-h a คำสั่งความที่เหมาะสม (Command Apropos). ป้อนคำหลัก (keyword)
แล้วอีแมกส์จะแสดงรายการของคำสั่งทั้งหมดที่มีคำหลักประกอบอยู่.
คำสั่งเหล่านี้จะเรียกใช้ได้ด้วยคำสั่ง META-x.
สำหรับบางคำสั่ง, คำสั่งความที่เหมาะสม (Command Apropos) จะ
แสดงรายการของคำสั่งที่ประกอบด้วยหนึ่งหรือสองสายอักขระที่ใช้เรียก
คำสั่งเดียวกันด้วย.
>> ป้อนคำสั่ง C-h a file<Return>.
นี่เป็นการแสดงรายการของคำสั่งประกอบของ M-x กับ "file" ในชื่อของคำสั่ง
ทั้งหมดในอีกหน้าจอ. ท่านจะเห็นคำสั่งประกอบอักขระ (character-command) เช่น C-x
C-f แสดงอยู่กับชื่อของคำสั่งนั้นๆ เช่น find-file.
>> ป้อนคำสั่ง C-M-v เพื่อเคลื่อนม้วนวินโดว์คำช่วยเหลือ (help window). ลองทำดูสัก
สองสามครั้ง.
>> ป้อนคำสั่ง C-x 1 เพื่อกำจัดวินโดว์คำช่วยเหลือ.
* สรุป
-----
สิ่งควรจำไว้คือ, คำสั่ง C-x C-c ใช้สำหรับออกจากอีแมกส์อย่างถาวร. ถ้าต้องการออกไปยัง
เชลล์ชั่วคราว, และสามารถกลับมายังอีแมกส์ได้อีกนั้น, ให้ใช้คำสั่ง C-z.
คู่มือการใช้นี้มีเจตนาให้ผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้ทั้งหลายสามารถเข้าใจได้, ดังนั้นถ้าท่านพบบางสิ่งที่ไม่
ชัดเจน, ไม่ต้องนั่งตำหนิตัวเอง - สอบถามมาได้เลย!
* การทำสำเนา (copying)
----------------------
คู่มือนี้ได้รับการพัฒนามาเป็นระยะเวลานาน, เริ่มตั้งแต่ต้นฉบับที่เขียนโดย Stuart Cracraft.
คู่มือเวอร์ชันนี้, เช่นเดียวกับ GNU Emacs, ได้รับการสงวนสิทธิ์, และผนวกไว้ในเงื่อนไขใน
การเผยแพร่ด้วย:
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2528, 2529 โดยฟรีซอฟต์แวร์ฟาวน์เดชัน (Free Software Foundation)
ทุกท่านมีสิทธิ์ในการทำสำเนาหรือเผยแพร่เอกสารนี้, ในทุกสื่อ, โดยต้องแนบข้อความแสดง
สิทธิ์และการอนุญาตนี้ไปพร้อมด้วย. ทั้งนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่าผู้เผยแพร่ได้อนุญาตให้ผู้ที่ได้รับ
สามารถทำการเผยแพร่ต่อไปได้โดยอาศัยข้อความในเอกสารนี้.
การอนุญาตนั้นได้รวมถึงสิทธิ์ในการเผยแพร่เวอร์ชันที่ปรับปรุงแล้ว, หรือส่วนหนึ่งของ
เอกสารนี้, ภายใต้เงื่อนไขข้างบน, ตลอดจนสิทธิ์ในการบอกว่าใครเป็นผู้ปรับปรุงล่าสุด.
เงื่อนไขของการทำสำเนาอีแมกส์จะซับซ้อนมากกว่านี้, แต่มีเจตนารมณ์ที่เหมือนกัน. กรุณา
อ่านแฟ้มข้อมูล COPYING แล้วเผยแพร่สำเนาของ GNU Emacs ไปยังเพื่อนๆ ของท่านด้วย.
ช่วยกันทำลายระบบหวงซอฟต์แวร์ ("แสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ") ด้วยการใช้,
การเขียน, และการเป็นเจ้าของร่วมกันของซอฟต์แวร์เสรี (free software).
* ต้นฉบับว่าด้วยเรื่องการทำสำเนา
--------------------------
ต่อไปนี้เป็นเอกสารว่าด้วยเรื่องการทำสำเนาที่เป็นต้นฉบับ. เอกสารนี้ปรากฏอยู่ในคู่มือการใช้
อีแมกส์ฉบับภาษาอังกฤษ, ซึ่งเป็นต้นฉบับของเอกสารแปลฉบับนี้ด้วย.
This tutorial descends from a long line of Emacs tutorials
starting with the one written by Stuart Cracraft for the original Emacs.
This version of the tutorial, like GNU Emacs, is copyrighted, and
comes with permission to distribute copies on certain conditions:
Copyright (C) 1985, 1996, 2001-2024 Free Software Foundation, Inc.
Permission is granted to anyone to make or distribute verbatim copies
of this document as received, in any medium, provided that the
copyright notice and permission notice are preserved,
and that the distributor grants the recipient permission
for further redistribution as permitted by this notice.
Permission is granted to distribute modified versions
of this document, or of portions of it,
under the above conditions, provided also that they
carry prominent notices stating who last altered them.
The conditions for copying Emacs itself are more complex, but in the
same spirit. Please read the file COPYING and then do give copies of
GNU Emacs to your friends. Help stamp out software obstructionism
("ownership") by using, writing, and sharing free software!
* คำส่งท้าย
---------
คู่มือฉบับนี้ได้แปลจากต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ, ซึ่งจะปรากฏอยู่ในอีแมกส์เวอร์ชัน 20.4.
ผู้แปลได้ทำการแปลขึ้นมาใหม่เนื่องจากฉบับเก่าที่เป็นภาษาไทย, ซึ่งแปลโดย ดร.มานพ วงศ์
สายสุวรรณ, ได้อิงคู่มือของอีแมกส์เวอร์ชันเก่า, และขณะนี้อีแมกส์เวอร์ชัน 20.4 ก็ได้
เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว. นอกจากนี้, ผู้แปลยังได้นำเครื่องหมายวรรคตอนมาใช้ในที่นี้ด้วย,
ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเขียนให้ได้ความที่ชัดเจน. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือฉบับนี้จะเป็นประโยชน์
และจะได้รับการแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นอีกต่อๆ ไป. ขอขอบคุณ คุณทัศนีย์ เจริญพร ที่ให้ความ
ช่วยเหลือตรวจสอบต้นฉบับ.
22 มกราคม 2542
วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช
virach@nectec.or.th
Translate - January 1999 by Virach Sornlertlamvanich
;;; Local Variables:
;;; sentence-end-double-space: nil
;;; coding: utf-8
;;; End: